วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานที่ 14 การเปรียบเทียบระหว่างblog spot กับ blog gotoknow


 การเปรียบเทียบระหว่าง Blogspot และ Gotoknow

Blogspot
1. พื้นหลังหรือ background สามารถเลือกได้หลายรูปแบบ
2. ประวัติ Blog ไม่เห็นชัดเจน
3. ชื่อ Web จำง่ายและสั้น
4. ใส่รูปภาพและลิงค์ถึงกันได้

5. การเข้า Web จะง่ายกว่า
6. การเปิดโชว์ข้อความจะโชว์หมด
7. จะไม่ปิดกั้นผู้อื่นเข้าชมและสามารถวิจารณ์ผลงานได้
8. เข้าไปแก้ไขและเพิ่มบทความได้

Gotoknow
1. ไม่มีพื้นหลังหรือ Background ให้เลือก
2. ประวัติ Blog ชัดเจน
3. ชื่อ Web จำยากและยาว
4. ใส่รูปภาพและลิงค์ถึงกันได้
5. การเข้า Web จะยากกว่า
6. การโชว์ข้อความโชว์ไม่หมดต้องเปิดดูต่อ
7. จะปิดกั้นผู้อื่นเข้าชมได้ และสามารถวิจารณ์ผลงานได้
8. เข้าไปแก้ไขและเพิ่มบทความได้ง่ายกว่า
gotoknow.org/blog/souvaneeim

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

ศึกษาดูงานประเทศลาว ( ใบงานที่ 13 )

การศึกษาประเทศลาวได้พบการบริหารหลายกิจการ เช่น
1.การบริหารเพื่อนในกลุ่ม ป.บัณฑิตด้วยกัน
2.การบริหารการจัดการของรถทั่ว
3.การบริหารประเทศลาว เช่น ทุกอย่างใช้ของในประเทศ อาทิ ไกท์ พ่อค้าแม่ค้า บริการรถ ฯลฯ
4.การบริหารของอาจารย์ผู้ควบคุม
5.การบริหารเวลาและสุขภาพ
6.การบริหารของธุรกิจโรงแรมต่างๆ

การศึกษาดูงานท่ีโรงเรียนอนุบาลหนองคาย ได้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารแบบครอบครัว และเน่้นวิชาการมากๆ มีการแข่งขันกับโรงเรียนในเครือข่ายและเน้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากๆ ด้วยความคิดเห็นคิดว่าเด็กต้องเครียดมากๆเลยคะ


การศึกษาดูงานทีหมู่บ้านงูจงอาง
   ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารกลุ่มมีการจัดการโดยใช้ส่วนร่วม คือร่วมคิดร่วมทำ ร่วมนำ ร่วมพัฒนา คือคิดใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาเป็นจุดขาย  และให้ผู้ท่ีมีความชำนาญหรือมีประสบการณ์ร่วมบริหารและร่วมกันขายร่วมกันพัฒนาอนุรักษ์ไว้ซึ่งเป็นประเพณีของชาวบ้าน

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

การใช้โปรแกรม SPSS (ใบงานครั้งที่ 12)

ส่วนประกอบหลักของ


SPSS FOR WINDOWS

-Title Bar บอกชื่อไฟล์

-Menu Bar คำสั่งการทำงาน

-Cell Editor กำหนดค่าตัวแปร

-Cases ชุดของตัวแปร

-Variable กำหนดชื่อตัวแปร

-View Bar มีสองส่วน

--Variable View

สร้างและแก้ไขโครงสร้างตัวแปร

--Data View

เพิ่มและแก้ไขตัวแปร

-Status Bar แสดงสถานการณ์ทำงาน

เปิด SPSS Data Editor

File -> New -> Data

กำหนดชื่อและรายละเอียด

จากหน้าจอ Variable View

ป้อนข้อมูล Data View

บันทึกข้อมูล

File -> Save

การกำหนดชื่อและรายละเอียดตัวแปร

ที่หน้าจอ SPSS Data Editor เรียกหน้าจอ Variable View ทำได้ 2 วิธี

1. ดับเบิลคลิกตรงคอลัมน์ของบรรทัดแรก

2. คลิกแถบ Variable View ที่อยู่ด้านล่าง

เมื่อได้หน้าต่างของ Variable View

1. Name ชื่อตัวแปร ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Name เช่น Sex

2. Type ประเภทของตัวแปร

เลือก Numeric Width=1 Decimal Places=0 คลิกปุ่ม OK

3. Label กำหนดข้อความขยายชื่อตัวแปร เพื่ออธิบายชื่อตัวแปรและแสดงออกทางผลลัพธ์

ให้พิมพ์ตรงคอลัมน์ Label เช่น เพศ

4. Values กำหนดคำอธิบายให้กับค่าตัวแปร

5. Missing กำหนดค่าที่ไม่นำไปวิเคราะห์ มี 2 แบบ

5.1 User Missing ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด เช่น 9, 99, 999, …

5.2 System Missing โปรแกรมจะกำหนดให้เอง

6. Column จำนวนความกว้างของคอลัมน์ คือจำนวนความกว้างมากสุดของ ค่าตัวแปร หรือ ชื่อตัวแปร หรือ label ตัวแปร

จากตัวอย่าง ชื่อตัวแปร และ label ตัวแปร มีความกว้างมากสุดเท่ากับ 3

ให้พิมพ์ 4 (ความกว้างมากสุดเท่ากับ 3 บวกเผื่อไว้ 1)

7. Align ให้แสดงค่าตัวแปร ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา

8. Measure ระดับการวัดของข้อมูล

7.1 Scale (Interval, Ratio)

7.2 Ordinal

7.3 Nominal

ให้กำหนดชื่อและรายละเอียดของตัวแปรให้ครบทุกตัว

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. คลิกที่เมนู Analyze เลือก Descriptive Statistic และเลือก Frequencies

2. จากนั้นเราจะได้กรอบ Frequencies

กรอบ Frequencies ทางช่องซ้ายมือเป็นตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากแบบสอบถาม ทางช่องขวามือจะเป็นส่วนเลือกตัวแปรเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล

3. เราจะเลือกตัวแปรโดยการคลิกที่ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ทางซ้ายมือ จากนั้นคลิกปุ่มเลือก(สามเหลี่ยมสีดำ)ตัวแปรที่ต้องการวิเคราะห์ก็จะตกไปอยู่ทางช่องขวามือ ในที่นี้ให้เลือกทั้งหมดทุกตัวแปร

4.คลิกปุ่ม Statistics แล้วจะได้กรอบ Frequencies Statistics

5. เลือกประเภทการวิเคราะห์ข้อมูล ในที่นี้เราจะวิเคราะห์ Central Tendency และ Dispersion โดยส่วน Central Tendency เลือก Mean, Median, Mode, Sum และส่วน Dispersion เลือก Std. deviation, Minimum, Maximum

เลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Continue

เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics

6. ต่อไปให้คลิกปุ่ม Charts จะได้กรอบ Frequencies Charts

ในส่วน Frequencies Charts นี้ท่านสามารถเลือก Chart Type ว่าต้องการเป็น Charts ชนิดใด ในที่นี้ให้เลือก Bar charts แล้วคลิก Continue

7. เมื่อคลิกปุ่ม Continue จะกลับมาที่กรอบ Frequencies Statistics ดังภาพ จากนั้นคลิกปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล

วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ผลการศึกษาโปรมแกรม SPSS of Windows (ใบงานครั้งที่ 8)

ผลการศึกษาโปรแกรม SPSS Of Windows จากการศึกษาโปรแกรม SPSS Of Windows ให้นักศึกษาสรุปความรู้ในหัวข้อต่อไปนี้1. ความหมายของคำว่า สถิติ จาการศึกษาความหมายหลาย ๆ ความหมายสรุปเป็นความคิดของตนเองดังนี้สถิติ หมายถึง วิชาที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลการนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาสรุป โดยใช้ตัวเลขบรรยายเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงของเรื่องต่างๆที่เราต้องการศึกษา

การจัดการความรู้ (ใบงานที่ 4)


ใบงานครั้งที่ 4

การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

สืบค้นจาก www.tistr.or.th/KM/index.php?option=com


กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องใช้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

สืบค้นจาก http://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html


แหล่งข้อมูล คือ สถานที่ที่สามารถ ค้นคว้า สืบค้น เรียนรู้ ข้อมูลต่างๆแต่ละประเภทตามที่เราต้องการและอยู่ในรูปลักษณะที่ แตกต่างกันออกไป ตามที่แหล่งข้อมูลนั้นๆจะนำเสนออกมายิ่งในปัจจุบันจะมีรูปแบบในการนำเสนอ ที่หลากหลายมาก จนเราตามไม่ทันและมีข้อมูลมากมายมหาศาล ให้เราได้เรียนรู้ สืบค้น ค้นคว้า มาใช้ในการเรียนและงานต่างๆ มากมายตัวอย่างแหล่งข้อมูล ที่มีในปัจจุบัน1. สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ2. ซีดี วีซีดี ดีวีดี วีดีโอ ภาพยนต์ 3. สถานที่ต่างๆ ห้องสมุด โบราณสถาน สถานที่ท่องเที่ยว4. เทคโนโลยีต่างๆ ทีวี วิทยุ ระบบอินเทอร์เน็ต ดาวเทียม

สืบค้นจาก http://www.ketkwanchai.info/ebook2/f6.htm


แหล่งข้อมูลแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ 1. แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะได้จาก การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ และการจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง (บาร์โด้ด : Barcode) เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก2. แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้เรียบร้อยแล้ว บางครั้งอาจมีการประมวลผลเป็นสารสนเทศ แล้ว เช่น สถิติการนำเข้าและส่งออกสินค้า เป็นต้นสืบค้นจาก http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech02/08/2/webit/p5.html


เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม



สารสนเทศ คือ ข้อมูล ข่าวสาร ข่าว ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ อยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ เสียงสัญลักษณ์ หรือกลิ่น ที่ถูกนำมาผ่านกระบวนการประมวลผล ด้วยวิธีการที่ เรียก ว่า กรรมวิธีจัดการข้อมูล (Data Manipulation) และผลที่ได้อาจแสดงผลออกมาในรูปแบบของสื่อประเภทต่าง เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ แผนที่ แผ่นใส ฯลฯ และเป็นผลลัพธ์ที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง ตรงและทันกับความต้องการ

สืบค้นจาก www.panyathai.or.th/wiki/index.php